ปะการังเทียม “เขากวาง” นวตกรรมเด่นจากวช. เพิ่มประสิทธิภาพความงาม ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล หมู่เกาะแสมสารภูเก็ต

Last updated: 16 ม.ค. 2566  |  218 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปะการังเทียม “เขากวาง” นวตกรรมเด่นจากวช. เพิ่มประสิทธิภาพความงาม ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล หมู่เกาะแสมสารภูเก็ต

เพราะต้องการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเลให้กลับมามีความสมดุลย์ อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ดร.นันทิกา ซันซื่อ ประดิษฐ์นวปะการัง ปะการังเทียมที่มีโครงสร้างเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยกระบวนการออกแบบจำลองปะการังเทียมเขากวางเพิ่มประสิทธิภาพ การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเลติดตั้งง่ายน้ำหนักเบา สัตว์น้ำเลิฟ รายละเอียดเรื่องนี้  รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ดร.นันทิกา เล่าให้ phatheaw.com ฟังถึงแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์ผลงานชิ้นนี้ว่า

“สมัยก่อนเป็นครูสอนดำน้ำ เมื่อดำน้ำลงไปจะเห็นปะการังที่มีความเปลี่ยนแปลง ถูกทำลาย สูญหายไป ไม่สวยงามเหมือนเดิม หลายฝ่ายพยายามทำปะการังเทียมมาช่วยชดเชยธรรมชาติ ส่วนใหญ่ทำจากปูนซีเมนต์ ทรงสี่เหลี่ยม  รู้สึกว่าขัดตาเห็นเวลาดำน้ำ  ขณะเดียวกันการทำปะการังเทียมก็ยังไม่ได้นำหลักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดมาใช้ ว่าต้องทำอย่างไร จึงจะมีการเกาะติดเร็วและดีที่สุด ปะการังเทียมส่วนใหญ่ต้องรอให้ปะการังธรรมชาติมาเกาะให้เต็มก่อนถึงจะสวย ซึ่งจะใช้เวลาหลายปีมาก แต่ถ้าทำปะการังที่มีรูปร่างเหมือนปะการังก็จะสวย  จึงเกิดความคิดที่จะทำปะการังที่วางอยู่ใต้ท้องทะเลแล้วสวยงามดูเป็นธรรมชาติเลย  ก็เลยลงมือทำนวัตปะการัง  ปะการังเทียมที่มีโครงสร้างเลียนแบบธรรมชาติด้วยกระบวนการออกแบบชีวจำลอง โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 
เริ่มตั้งแต่ศึกษาจากปะการังธรรมชาติ ว่ามีฟังชั่นอย่างไร จนมาลงตัวที่ปะการังเขากวาง เพราะมีลักษณะการเรียงตัวเป็นธรรมชาติ มีความสามารถในการชะลอกระแสน้ำ พร้อมทั้งนำตัวอ่อนของปะการังตามธรรมชาติให้เกาะได้ทนนานขึ้นกว่าการวางไว้เฉย ๆ ให้น้ำพัดผ่านไป  แต่ก็ยังพบปัญหาเพราะการที่เอาปะการังเทียมไปวางเป็นปูนมีน้ำหนักมาก เวลานำไปวางต้องใช้เครนในการยกไปติดตั้ง  จึงปรับให้มีขนาดเล็กลงโดยทำเป็นก้อนเล็ก ๆ 3 ก้อน โดยเจาะรูใส่กิ่งปะการังเข้าไปทำให้ขั้นตอนในการติดตั้งในใต้น้ำทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น




ปะการังเทียมเขากวางแตกต่างจากปะการังเทียมทั่วไป คือ รูปลักษณ์ภายนอกกลมกลืนกับธรรมชาติ ประสิทธิภาพในการเพิ่มพื้นที่ผิวของนวัตปะการังจะมีมากกว่าที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเดิมกว่า 10 เท่า เวลาที่ใช้ในการที่ปะการังแท้จะมาเกาะติดและเติบโตเร็วกว่าเดิม และ สถานีนี้สามารถทำเป็นสถานีงานวิจัยอื่น ๆ ต่อไปได้ อาทิ สถานีวัดน้ำ หรือติดกล้องไว้ดูแนวปะการังได้ ฯลฯ ความแตกต่างคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ ซ่อมเสริมธรรมชาติโดยให้กลมกลืนกับธรรมชาติ “นวัตปะการัง” ได้นำลงไปวางในหลายพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร จังหวัด และจังหวัดภูเก็ต


การต่อยอดของนวัตปะการังสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับปะการังเทียมในอนาคต แนวปะการังเทียมเพื่อการท่องเที่ยวทดแทนแนวปะการังจริง พื้นที่สำหรับการฝึกดำน้ำ แหล่งศึกษาวิจัยระบบนิเวศแนวปะการัง แหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อส่งเสริมพื้นที่สำหรับการประมง เพิ่มโอกาสในการเกิดอาชีพใหม่ สามารถสร้างรายได้ ทำให้เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้นด้วย ที่สำคัญผลงานชิ้นนี้ได้รับคัดเลือกขึ้นรับรางวัลระดับดี สาขาปรัชญา รางวัลประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 อีกด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและอีกหนึ่งผลงานที่น่าชื่นชมในการพยายามรักษาและฟื้นฟูธรรมชาติใต้น้ำ phatheaw.com ขอเป็นกำลังใจให้กับนักวิจัยและหน่วยงานที่ทุ่มเทการทำงานเพื่อทำให้ประเทศของเรามีสภาพแวดล้อมใต้น้ำที่งดงาม สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมของจริงได้ ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา สอบถามรายละเอียดได้ 02-561-2445 ต่อ 508

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้