วช. นำคณะนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทย คว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากเวที “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) ระหว่างวันที่ 13 - 15 ตุลาคม 2565 ณ เมืองไทเป ไต้หวัน

Last updated: 17 ต.ค. 2565  |  249 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วช. นำคณะนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทย คว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากเวที “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) ระหว่างวันที่ 13 - 15 ตุลาคม 2565 ณ เมืองไทเป ไต้หวัน


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจาก 6 หน่วยงาน คว้ารางวัลระดับนานาชาติจากงาน “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 15 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ เมืองไทเป ไต้หวัน ถือเป็นเวทีแรกของปี 2565 ที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยได้นำผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในรูปแบบออนไซต์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มีภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยการสนับสนุนให้นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยเข้าสู่เวทีนานาชาติในระดับโลก โดยเมื่อวันที่ 13 – 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจาก 6 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง เข้าร่วมการประกวดและจัดแสดงในงาน “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) ณ เมืองไทเป ไต้หวัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยสามารถคว้ารางวัลต่าง ๆ ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จำนวน 7 รางวัล ได้แก่ 1. ผลงาน “ลวดจัดฟันวัสดุฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดฟันและลดความเจ็บปวด” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะและคณะ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2. ผลงาน “หน้ากากผ้าแสดงผลผู้สวมใส่ที่มีอุณหภูมิสูงด้วยการเปลี่ยนสีของสารเทอร์โมโครมิก” โดย ดร.นารีรัตน์ จริยะปัญญา และคณะ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3. ผลงาน “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งจากสารสกัดเปลือกสับปะรดและจากน้ำมะนาว โดยสหกรณ์การเกษตรสบปราบ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ แห่งคณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4. ผลงาน “SMART GEOTECH 2020 นวัตกรรมซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลงานวิศวกรรมชั้นดินฐานราก” โดย นางสาวจิติมา เทพพานิช และคณะ แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 5. ผลงาน “สารสนเทศติดตามสถานการณ์การใช้ไฟฟ้ารายวัน โดย นายคงศักดิ์ นันท์ธนะวานิช และคณะ แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 6. ผลงาน “ระบบสูบน้ำอัตโนมัติแบบท่อร่วมระหว่าง Stage แบบอนุกรมต่างระดับ” โดย นายวรัญญู กตัญญู และคณะ แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ 7. ผลงาน “เครื่องทดสอบสวิตซ์แรงดันและเกจวัดแรงดันแบบพกพา” โดย นายณรงค์ศักดิ์ จวบแจ้ง และคณะ แห่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


 

 

 

นอกจากนี้ ยังมีผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จำนวน 8 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) จำนวน 5 รางวัล และรางวัลพิเศษจาก World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) ไต้หวัน และ Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมจำนวน 9 รางวัล

สำหรับการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) จัดโดย Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกไต้หวัน และ Industrial Technology Research Institute (ITRI) องค์กรด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมชั้นนำแห่งไต้หวัน และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐแห่งไต้หวัน อาทิ Ministry of Economic Affairs, Council of Agriculture, National Science and Technology Council

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย Taiwan Innotech Expo 2022 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ลวดจัดฟันวัสดุฉลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดฟันและลดความเจ็บปวด ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ หน้ากากผ้าแสดงผลผู้สวมใส่ที่มีอุณหภูมิสูงด้วยการเปลี่ยนสีของสารเทอร์โมโครมิก ดร.นารีรัตน์ จริยะปัญญา นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งจากสารสกัดเปลือกสับปะรดและจากน้ำมะนาว ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ นวัตกรรมซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลงานวิศวกรรมชั้นดินฐานราก ระบบสูบน้ำอัตโนมัติแบบท่อร่วมระหว่าง Stage แบบอนุกรมต่างระดับ
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้