ฟื้นฟูป่าชายเลนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่ระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมเลี้ยงผึ้งชันโรง  แหล่งอาหารปลอดภัย เพิ่มรายได้ อีกหนึ่งความสำเร็จงานวิจัย ม.หาดใหญ่ สร้างอาชีพให้เกษตรกรอย่างยังยืน

Last updated: 13 มี.ค. 2565  |  376 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฟื้นฟูป่าชายเลนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่ระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมเลี้ยงผึ้งชันโรง  แหล่งอาหารปลอดภัย เพิ่มรายได้ อีกหนึ่งความสำเร็จงานวิจัย ม.หาดใหญ่ สร้างอาชีพให้เกษตรกรอย่างยังยืน

วช.ได้นำคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมพื้นที่ตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 24-25กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา เพื่อติดตามความคืบหน้าและผลสำเร็จ การฟื้นฟูป่าชายเลนในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา กับการพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยง ผึ้งชันโรง สู่การเป็นชุมชนนวตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม(อว.)

ซึ่งได้ผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจในโครงการ “การจัดการความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่การปฎิบัติในการฟื้นฟูการปลูกป่าชายเลนแบบประชารัฐ” ของนักวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ให้กลับมามีความสมบูรณ์ พร้อมส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง เป็นอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภคและสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

โดยทั้งหมดเดินมาที่สวนเทพหยาเพื่อรับการนำเสนอข้อมูลและแนวคิดในการดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากรองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธิน คณะบดีคณะรัฐศาสตร์และทีมนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตรตราจารย์ ดร.วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล อาจารย์สามารถ วราดิสัย


จากนั้นจึงไปเยี่ยมชมพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณแก้มลิงชะแล้ ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก ผู้ช่วยคณะบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการเปิดเผยว่า “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลานับเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญทั้งคนและสัตว์ ครอบลุม จ.สงขลา จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช

 ขนาดพื้นที่ 8729 เป็นทะเลสาบ 1042 ตร.กม. มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1200 เมตร เป็นลุ่มน้ำเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่มีระบบนิเวศเฉพาะตัว 3 แบบ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม

 

จึงอุดมสมบูณณ์ไปด้วยสัตว์น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ  จากผลพวงการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทะเลสาบสงขลาจึงถูกคุกคามอย่างรุนแรง มีการใช้ประโยชน์โดยมิได้ตระหนักถึงความยั่งยืนในอนาคต  ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยได้ศึกษาค้นคว้าและพบว่าควรบูรณาการโดยเน้นความสมดุลให้ครบทุกด้าน ทั้งระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคม ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการยอมรับและการเข้ามาเป็นผู้มีบทบาทหลักของภาคประชาชนและชุมชนเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมลุ่มน้ำทะเลสาปสงขลาคืนความอุดมสมบูรณ์ได้มากที่สุด  


“พื้นที่บริเวณนี้โล่งเดิมว่างเปล่า เนื่องจากบริเวณนี้เป็นป่าพรุจะปลูกต้นไม้ต้องศึกษาเพราะดินเปรี้ยวมากปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น  จึงต้องยกคันดินขึ้นมา พันธ์ไม้ปลูกแล้วที่ได้ผลดี คือ ต้นจิก ต้นตีนเป็ดทะเล ต้นจาก ยาหยีน้ำ สารภีทะเล และเสม็ดขาว  หลังจากปลูกป่าไปแล้วก็ตั้งศูนย์วิจัยชะแล้โดยมีการเลี้ยงผึ้งชันโรงเป็นหลัก  เทศบาลตำบลชะแล้พยายามสนับสนุนและผลักดันอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ในที่สุดเกิดการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชะแล้รักษ์ชันโรง วิสาหกิจชุมชนบ้านชะแล้ และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ชันโรงชะแล้ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีแนวความคิดที่จะขยับขยายธุรกิจในเชิงของชุมชนร่วมกัน และผลพวงจากการปลูกป่าชายเลน ทางเทศบาลยังผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

รองศาสตราจารย์ ดร.ก้าน จันทร์พรหมมา ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เปิดเผยว่า  “พืชแต่ละชนิดที่ปลูกมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน มีทั้งที่เป็นตัวยาและเป็นพิษ ที่ชะแล้มีต้นเสม็ดขาวเยอะมาก เมื่อนำมาสกัดพบว่ามี สารต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ลดอาหารบวม  เมื่อนำผึ้งชันโรงมาเลี้ยง น้ำผึ้งชันโรงที่ได้พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมีค่าสูงที่สุด น้ำผึ้งชันโรงที่นี่จึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โดยน้ำผึ้งที่ได้จากที่นี่จะมีลักษณะเฉพาะคือหวานอมเปรี้ยว มีคุณค่าทางโภชนาการทั้งในเรื่องของการบำรุงสุขภาพและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ สบู่เหลว โลชั่น ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธา คณะบดีคณะรัฐศาสตร์เล่าว่า“ ที่นี่มีความเชื่อมโยงด้านการเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์มากเพราะหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัย”



จากนั้นจึงไปเยี่ยมชมผู้เลี้ยงผึ้งชันโรงพื้นที่เลี้ยงโรงเก็บน้ำประปาหมู่บ้านชะแล้ นายวินัยอินทานุกูลเล่าว่า “ผึ้งชันโรงจะบินออกหากินระยะประมาณ 300 เมตรระยะ เดินทางออกหากินวันละประมาณ 10กว่าเที่ยว ถ้าเรามีแหล่งอาหารให้เพียงพอจะทำให้เที่ยวบินถี่จะได้น้ำผึ้งเยอะขึ้น ความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารไม่ว่าจะเป็นเกษรดอกไม้ น้ำล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สำคัญน้ำผึ้งชันโรงของชะแล้มีคุณค่าและมีประโยชน์มาก”



 

นายวิสุทธิ์ สุวรรณ  เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงชันโรง บ้านคลองต่อเล่าว่า  “ในแต่ละปีมีคนมาเรียนรู้ที่กลุ่มเยอะมากๆ ซึ่งเราก็จะพัฒนาไปเรื่อยๆ ถือว่าเป็นอาชีพเสริมที่ดี เพราะในภาคใต้มีสายพันธ์ชันโรงเยอะมากได้เปรียบกว่าภาคอื่นๆ อีกทั้งเป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีผลไม้ที่หลากหลายทำให้ได้น้ำผึ้งชันโรงที่มีคุณประโยชน์ เป็นแมลงเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ทุกคนต้องการ เกษตรกรมีความต้องการเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นและทางกลุ่มมีสมาชิกกว่า 20 คน


ทำให้มีความพร้อมสำหรับคนสนใจจะซื้อแม่พันธ์และกล่องไปเลี้ยงทางศูนย์ก็มีบริการในการจัดส่ง ต้องขอบคุณหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาส่งเสริม  ทางกลุ่มพยายามส่งเสริมเด็กนักเรียนให้เข้ามาเรียนรู้ว่าผึ้งชันโรง เป็นแมลงที่มีคุณค่า เป็นแมลงเศรษฐกิจ สร้างอาชีพให้พวกเขาได้


ในพื้นที่บ้านคลองต่อได้เปรียบมีผลไม้หลากหลาย ที่สำคัญในฤดูกาลผลไม้ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ได้น้ำหวานจากใบยางพารา เงาะ ทุเรียน มังคุด โดยเฉพาะในมังคุดมีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะ และยังได้สรรพคุณทางยาหลากหลาย นอกจากนั้นขี้ชันจากชันโรงก็สามารถจำหน่ายได้กิโลกรัมละกว่า 1000 บาท เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตต่างๆมากมาย ทางกลุ่มจะมีการโดยมีการจัดจำหน่ายทางออนไลน์ส่งตรงบ้าน หากผู้ที่สนใจทางกลุ่มทำครบวงจรทั้งอุปกรณ์การเลี้ยงและกล่องพร้อมพันธ์ผู้ที่สนใจสามารถเอาไปเลี้ยงและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างง่ายดาย”



นายเดชา ศิริโชติ เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนอุงและญิงยวนบางกล่ำปิดท้ายว่า “การเลี้ยงผึ้งชันโรง เราไม่จำเป็นต้องมีปัจจัยอื่น เราสร้างรังให้เขาอยู่ มีความสมบูรณ์ด้านอาหารให้เขาแล้ว เขาออกไปหากินเอง ไม่เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์อื่นๆ ที่ต้องให้น้ำให้อาหาร แต่การเลี้ยงผึ้งชันโรงเราเลี้ยงแล้วสามารถไปทำงานอย่างอื่นได้ ผลไม้ในสวนชันโรงผสมพันธ์ให้ ทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายลง ทำให้มีรายได้อย่างยั่งยืน”

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้