อว.จัดเสนวนา เตรียมพร้อมรับมือสถานะการณ์น้ำ ด้วยข้อมูลวิจัยและนวตกรรม โอกาสซ้ำรอยปี 54 มีน้อย แต่ต้องไม่ประมาท

Last updated: 16 ก.ย. 2564  |  377 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อว.จัดเสนวนา เตรียมพร้อมรับมือสถานะการณ์น้ำ ด้วยข้อมูลวิจัยและนวตกรรม โอกาสซ้ำรอยปี 54 มีน้อย แต่ต้องไม่ประมาท

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัย และนวตกรรม เปิดพระเด็น "อว.เตรียมพร้อม รับมือสถานะการณ์น้ำ ด้วยข้อมูลวิจัยนวตกรรม" ในงานเสวนาเรื่อง  "2564 จะมีน้ำท่วมใหญ่หรือไม่ เตรียมรับมืออย่างไร"  ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน VDO Conference ด้วยระบบ Zoom และ Facebook Live  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คุณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.สุทัศน์ วัสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์  ผูู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ดร.ธเนศภ์ อุ่นอารีย์ นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7 เซียนซามูไร ร่วมเสวนา วันนี้ ณ ห้องแถลงข่าวโถงชั้น 1 อาคารสวทช(โยธี) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย นวตกรรม 

 

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยนวตกรรม(อว.)ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย นวตกรรม(กสว.)ให้บริหารจัดการทุนวิจัยนวตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม พร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยและนวตกรรมในการจัดการกับปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ จึงได้จัดเสวนาครั้งนี้ขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายๆด้าน อาทิ อุณภูมิเพิ่มขึ้น ปริมาณและรูปแบบการกระจายตัวของน้ำฝนเปลี่ยนไป ฤดูกาลขยับเลื่อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ดังนั้นสังคม ชุมชนต้องรับรู้และเข้าใจ พร้อมปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจะบันและอานาคต เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยเฉพาะประเด็น น้ำท่วม น้ำแล้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ที่เผชิญกันมาบ่อยครั้ง อีกมุมก็สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมซึ่งช่วงที่ผ่านมามีกระแสข่าวออกมาว่าปี 2564 นี้ประเทศไทยจะต้องเจอกับฝนที่มากขึ้น โดยช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 ฝนจะตกชุกหน้าแน่น 60-80 % ของพื้นที่และมีฝนหนักในหลายพื้นที่ 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัย และนวตกรรม เปิดเผยว่า

"น้ำท่วมใหญ่แบบปี 54 ไมน่ามีเหตุ เพราะว่าน้ำที่อยู่ในเขื่อนยังน้อย การที่จะต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมามากมายเหมือนปี 54 ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่อาจจะท่วมได้เป็นบางจุด ที่ต้องระวังคือตะวันออกเพราะตอนนี้ฝนตกหนัก และภาคใต้ที่จะฝนตกตั้งแต่เดือนพฤศจิกาเป็นต้นไป โดยเฉพาะนครศรีธรรมราช นอกนั้นไม่น่าจะเป็นกังวล   ดร.พิจิตต รัตตกุล ท่านเล่าให้ฟังว่ารัฐบาลก็ดี กทม.ก็ดีได้สรุปบทเรียนจากปี 54 เพื่อที่จะป้องกันและเสริมสร้างความสามารถในการรับน้ำได้มากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกว่าปี 54  ดังนั้นจะเป็นสองปัจจัยคือฝนที่จะตกรุนแรงและจะปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมาก็ไม่น่าวิตก  ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งคือเราเตรียม เครื่องไม้เครื่องมือที่จะร้องรับได้ดียิ่งขึ้น  เมื่อสองอย่างมารวมกันก็ไม่น่าเป็นห่วง แต่ว่าต้องไม่ประมาทประชาชนที่อยู่ริมน้ำก็ต้องเตรียมพร้อมเอาไว้ด้วย ทางรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะใช้ความรู้ ใช้งานวิจัย นวตกรรมมาเตรียมการ ข้อมูลเราเยอะเมื่อเทียบกับปี 54 "

"ส่วนข้อเสนอดีๆ ก็ต้องรับมาพิจารณา เรื่องเจ้าพระยาเดลด้าก็น่าสนใจ ภาคกลางที่เราเรียกศัพท์ทางภูมิศาสตร์ว่าเจ้าพระยาเดลต้า มันเป็นที่รับน้ำจากทางเหนือต้นน้ำอยู่ทางเหนือ ตั้งแต่ปิงวังยมน่าน ป่าสักอยู่ระหว่างภาคเหนือกับภาคอีกสานก็มาลงภาคกลาง น้ำจะไปไหนจะไปลงทะเล เพราะฉะนั้นชีวิตของคนภาคกลาง จะเป็นกึ่งบกกึ่งน้ำในยุคสมัยใหม่เราเปลี่ยนภูมิประเทศแถวนี้เป็นดินแดนบกไปหมด เมื่อน้ำท่วมก็กลายเป็นเรื่องผิดปกติ แต่คนโบราณน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่นำเอาความอุดมสมบูรณ์ทางเหนือมาลงในดินแดนสามเหลี่ยมเรียกว่าเจ้าพระยาทางใต้ พอเราทำถนนทำบ้าน ทำให้ภาคกลางน้ำไม่มีที่ลง เจ้าพระยาเดลด้าที่เสนอมาคือเราจะขุดคลองมากขึ้น จะทำอุโมงค์ที่จะลัดน้ำ มีที่พักน้ำ มีที่เก็บน้ำบนบกให้มากขึ้นก็จะส่งผลให้การเกษตรดีขึ้น การใช้น้ำดีขึ้น การแก้ปัญหาภัยแล้ง สลับกับน้ำท่วมก็น่าจะแก้ได้ ตามแบบฉบับของกระทรวงอว.ก็ต้องนำมาศึกษาวิจัย ก็ได้หารือกัน ซึ่งให้ทุนไปบ้างแล้ว" 

รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เปิดเผยว่า "น้ำท่วมมีโอกาสน้อย แต่ถึงแม้ว่ามีโอกาสน้อยก็ให้นึกถึง เยอร์มัน เบลเยี่ยม ประชาชนก็ต้องเตรียมการ ขอให้ชาวบ้านเข้าใจว่าการเกิดน้ำท่วมหรือไม่เกิดมันเป็นโอกาส อย่างที่ท่านพิจิตตบอกว่าช่วยตัวเองก่อน หากมีโอกาส 10%  หากมันเกิดเราก็จะช่วยตัวเองได้ทัน"  


 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้