วช. เชิดชู รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนาวราหะ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564

Last updated: 7 เม.ย 2564  |  598 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วช. เชิดชู รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนาวราหะ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) วช.จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 (ครั้งที่ 4)” เชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ “นักวิจัยสาขาปรัชญา” ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (in-House) : 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 4 เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดย วช. ได้มอบรางวัลให้กับ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญาประจำปี 2564 ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่อศึกษาวิจัยด้านนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น นโยบายและการบริหารจัดการที่ดิน ทั้งภาพรวมในระดับประเทศและระดับเมือง นโยบายการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการขนส่งนอกระบบทางการ อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ศึกษาวิจัยโครงการปริทัศน์สถานภาพความรู้เศรษฐกิจที่ดินของประเทศไทย เมื่อปีงบประมาณ 2555 และโครงการนโยบายการพัฒนาโครงข่ายและการเชื่อมต่อในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในบริบทไทย เมื่อปีงบประมาณ 2557 รวมถึงยังได้จัดทำหนังสือผลงานวิชาการ เรื่อง “เศรษฐกิจที่ดินของประเทศไทย : ปริทัศน์สภานภาพความรู้” เมื่อปี 2558


รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยเกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยตั้งคำถามว่าทำอย่างไรที่จะทำให้การดำรงชีวิตของคนเมืองดีขึ้น อาทิเช่น การเดินทาง วิจัยพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งงานวิจัยของตนเองสะท้อนความเป็นสหสาขาของงานวิจัยด้านการผังเมือง งานวิจัยจึงมีการผสมผสานกรอบแนวคิดจากหลายศาสตร์และเครื่องมือวิจัยรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งได้นำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนต่อเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย งานวิจัยที่ผ่านมาจึงไม่จำกัดอยู่เพียงงานที่มุ่งสร้างองค์ความรู้เชิงทฤษฎี แต่รวมไปถึงการศึกษาเชิงบริการวิชาการและการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อสนับสนุนและผลักดันการวางแผนนโยบาย และการออกมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ เกิดประโยชน์ในวงการวิจัยและวงการการวางแผนนโยบาย

"มีความภูมิใจว่าหลังจากที่ได้ทำงานวิจัยแล้ว ก็สามารถไปผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได้บ้างเพราะท้ายสุดการขนส่งสาธารณะเป็นพื้นฐานไม่ใช่เรื่องความเป็นอยู่ของคนแต่เป็นเรื่องของความเป็นธรรมที่จะเกิดขึ้นกับสังคม"

"โลกในปัจจุบันเรากำลังประสบกับความเสี่ยงหลายแบบมากและความเสี่ยงนี้เป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผู้คนได้รับผลกระทบมากไม่เฉพาะประเทศไทยฉะนั้นงานวิจัยในเชิงอนาคตศึกษาจริงๆ แล้วคือเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีความเสี่ยงอะไรบ้าง แต่ขณะเดียวกันเรามีโอกาสอะไรบ้างและแปลงความเสี่ยงและโอกาสนั้นมาเป็นทางเลือกในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำท่วมไปจนถึงโอกาสทางเทคโนโลยี เรื่องของยานยนต์ไร้คนขับที่เราจะต้องเตรียมพร้อมรับมือซึ่งการมองภาพอนาตตทำให้เราเลี่ยงความเสี่ยงและป้องกันตัวเองในขณะเดียวกันก็ใช้โอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น 

"ความท้าทายที่สุดยากที่สุดคือการเปลี่ยนกระบวนทัพเปลี่ยนความคิดของคนซึ่งไม่ใช้ว่าจะเป็นไปไม่ได้แต่นั่นเราต้องมีประบวนการที่ต้องพูดคุยกันมากขึ้นไม่เฉพาะเรื่องของการเมืองแต่เป็นเรื่องของเทคโนโลยีเรื่องของเศรษฐกิจต่างๆ  ในโลกปัจจะบันปัญหาหนึ่งคือว่าเราอยู่ในสถานะการณ์ที่เราคุยกับคนที่เรารู้จักแต่ในอนาคต โอกาสต่างๆ มาจากขอบของความรู้คุยกับคนที่เราอาจจะไม่รู้จักหรือไม่สบายใจที่จะคุยด้วย ตรงนั้นคือความหลากหลายของความคิด ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในการจัดการของความเสี่ยง การที่เราได้ถกเถียงกันบ้างเพื่อที่จะสร้างทางออกคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น" รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้พิธีมอบเหรียญรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พร้อมประกาศเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติคุณ และเงินรางวัล
ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคมนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม
ไบเทค บางนากรุงเทพมหานคร


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้