วช. ลงพื้นที่ภาคใต้ นำชีวภัณฑ์แบคทีเรียช่วยเกษตรกร ชาวสวนปาล์มกำจัดโรคโคนเน่าในต้นปาล์มน้ำมัน

Last updated: 1 พ.ย. 2563  |  649 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วช. ลงพื้นที่ภาคใต้ นำชีวภัณฑ์แบคทีเรียช่วยเกษตรกร  ชาวสวนปาล์มกำจัดโรคโคนเน่าในต้นปาล์มน้ำมัน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ร่วมกับศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ จัดการอบรมสวนปาล์มน้ำมันเพื่อควบคุมโรคลำต้นเน่า โดยชีววิธี ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และ จังหวัดกระบี่


ดร.กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัย ด้วยชีววิธีช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน จากโรคศัตรูพืช ในการนำแมลงตัวดี ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ให้กับเกษตรกรที่ทำนาข้าว ไร่มันสำปะหลัง สวนส้มโอ สวนมะพร้าว ฯลฯ ทั่วภูมิภาคในประเทศ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากแมลงศัตรูพืชแมลงตัวร้ายที่ทำลายพืชผักของเกษตรกร ในครั้งนี้ วช.ได้รับการร้องขอจากเกษตรกรชาวสวนปาล์ม

ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มาร์ หรือโรคโคนเน่า ในต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งชาวสวนปาล์มในเขตจังหวัดภาคใต้ในหลายจังหวัดตั้งแต่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุุราษฏร์ธานี ฯลฯ

พบมีต้นปาล์มยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก วช. จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดย รศ.ดร.อัจฉรา เพลงหนู ผู้อำนวยศูนย์วิจัยฯ ภาคใต้ จัดการอบรม ให้ความรู้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ด้วยการนำเทคโนโลยี และชีวภัณฑ์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน วันที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และวันที่ 30 ตุลาคม 2563 ณ สำนักงานวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนศรีเจริญ อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เพื่อให้ผู้แทนกลุ่มละประมาณ 50 คน ได้รับความรู้ความเข้าใจในกระบวนการใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยในกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี

เรื่องลักษณะการเข้าทำลายของโรคลำต้นเน่าเกิดจากเชื้อ Garnoderma boninense หรือโรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเกิดโรค การทำลายเชื้อโรคไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีวิธีที่จะทำลายเชื้อ ทำให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 40 -50 % และผลผลิตลดลงเกินกว่า 50% เกษตรกรในแต่ละกลุ่มมีจำนวนเกือบ 300 ราย ในพื้นที่สวนปาล์มกว่า 10,000 ไร่ 


โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมันสาเหตุจากเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma sp.) พบระบาดในพื้นที่ปลูกปาล์ม
น้ำมันทุกจังหวัดของภาคใต้และบางจังหวัดของภาคตะวันออกแต่ละพื้นที่มีความรุนแรงการระบาดของโรคต่างกัน
สำหรับพื้นที่ภาคใต้มีการระบาดของโรครุนแรงในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีและกระบี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตปาล์ม
น้ำมันแหล่งใหญ่ที่สุดของประเทศ

สถาบันวิจัยนวัตกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมัน ปาลม์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ดำเนินการสำรวจเบื้องต้น
จากกลุ่มเกษตรกรผู้ลิตปาลม์น้ำมันในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพร พบแปลงปาลม์น้ำมันที่ถูกทำ ลายโดยเชื้อรากาโนเดอร์มาคิดเป็นร้อยละ 44 ของพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง โดยส่วนใหญ่พบในแปลงปาลม์น้ำมันอายุระหว่าง 11-20 ปี
(พบร้อยละ 59) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ปาลม์ ให้ผลผลิตระดับ เกษตรกรผู้ลิตปาลม์น้ำมันร้อยละ 84 เห็นว่าปัญหาการ
ระบาดของโรคลำต้นเน่าจากเชื้อรากาโนเดอร์มามีความรุนแรงมากเนื่องจากมีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิต หากไม่ได้รับการแก้ปัญหาจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตปาลม์น้ำมันอย่างแน่นอน
จากการนำชีวภัณฑ์ B-Palm1 สำหรับควบคุมโรคลำต้นเน่า และชีวภณัฑ์ B-Palm 2 สำหรับเสริมสร้างการเจริญเติบโตของราก ไปทดลองใช้ในแปลงเกษตรกรที่มีการระบาดของโรคลำต้นเน่าสาเหตุจากเชื้อรากาโนเดอร์มาในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคลำต้นเน่าได้โดยหลังจากใช้ชีวภัณฑ์ไปแล้ว 1-2 เดือน ทำให้ดอกเห็ดที่เกิดขึ้นใหม่ลดลง ขนาดเล็กลงและลักษณะรูปทรงผิดปกติ ในกรณีที่มีการคว้านส่วนเนื้อเยื่อของลำต้นปาล์มน้ำมันที่ถูกทำลายโดยเชื้อราการ์โนเดอร์มาออกไป พบว่าปาลม์น้ำมันได้มีการสร้างรากใหม่ขึ้นบริเวณที่คว้านออก


ดร.กลอยใจฯ กล่าวต่อว่า คณะนักวิจัย โดย ดร.จุฑามาศ แก้วมโน และอาจารย์ธีระพงศ์ จันทร์นิยม ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยนวัตกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ได้ศึกษาการนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อราในดินที่เข้าทำลายรากจนเป็นสาเหตุโรคลำต้นเน่ามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนปัจจุบันพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์แกรนูลพร้อมใช้ 2 สูตร คือ ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus sp.(B-plam1 ) สำหรับควบคุมโรคลำต้นเน่า และชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus sp.(B-plam 2 ) สำหรับเสริมสร้างการเจริญเติบโตของรากด้วย โดยใช้ ปริมาณ 20 กรัมละลายในน้ำสะอาด 5 ลิตร ฉีดเข้าลำต้นที่เป็นโรค ประมาณ 1 เดือน ดอกเห็ดของเชื้อราลดลง มีรากใหม่งอกเพิ่มขึ้น สามารถกลับมาให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม  ทั้งนี้เกษตรกรผู้ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากแมลงศัตรูพืช สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โทรศัพท์ 02 561 2445 ต่อ 551




ขอขอบคุณผู้สนับสนุน 

ท้องโตนด โฮมสเตย์ สำรองที่พัก 081-894-3779

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้