ยิ่งใหญ่“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” ใต้แนวคิด “พลังงานวิจัย สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต” แบบ New Normal

Last updated: 22 พ.ย. 2564  |  296 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยิ่งใหญ่“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564” ใต้แนวคิด “พลังงานวิจัย สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต” แบบ New Normal

Phatheaw วันนี้( 22 พฤศจิกายน )พามาชม "งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 หรือ "Thailand Research Expo 2021" งานเวทีระดับชาติที่นำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ซึ่งได้มีการจัดมาอย่างต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 16 แล้ว โดยปีนี้จัดอย่างยิ่งใหญ่ขนงานวิจัยกว่า 500 มาให้ศึกษา  โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์  เพื่อเชื่อมโยงการบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม  ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ โดยได้คัดผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นกว่า 500 ผลงาน มาให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ได้มาเรียนรู้อย่างใกล้ชิดขึ้น 


มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “พลังงานวิจัย สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต” เพื่อแสดงถึงพลังของงานวิจัยที่เป็นกลไกเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนปฏิบัติทำให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยี ในปีนี้ วช. ได้มีการบริหารจัดการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ Covid Free Setting โดยได้รับการร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยและนวัตกรรมทั่วประเทศในการร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ด้วยความตั้งใจที่ วช. จะส่งต่อผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ในรูปแบบผสมผสานที่ทำให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งในรูปแบบ Online และ Onsite สามารถเข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรมได้อย่างปลอดภัย


ปีนี้ วช. ได้นำประเด็นตามนโยบาย และยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงนโยบายของรัฐและประเด็นที่เป็นปัญหา ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกที่ได้เผชิญวิกฤตการการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มากำหนดเป็นธีมในการนำเสนอผลงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อ 1.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม 3. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ 5. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Model 6.งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 7. งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์โรคอุบัติใหม่

พร้อมทั้งนำเสนอนิทรรศการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งการวิจัยไทยและนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 และนิทรรศการเทิดพระเกียรติฉายพระอัจฉริยะภาพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงนิทรรศการการนำเสนอข้อมูลและผลงานจากเครือข่ายในวิจัยทั่วประเทศในรูปแบบไฮบริด โดยมีการจัดประชุมสัมมนาด้วยระบบออนไลน์กว่า 100 หัวข้อ และสามารถชมนิทรรศการได้ในรูปแบบ Visual Exhibition ที่จำลองบรรยากาศงานผ่านแพลตมฟอร์มออนไลน์ รวมถึงการ Live ในแต่ละวัน นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีการมอบสุดยอดผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ Platinum Award ซึ่งจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน



นับเป็นทศวรรษของรางวัลอันทรงเกียรตินี้ อีกทั้งยังให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์จึงจัดให้มีนิทรรศการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมในภาคการประชุมยังมีหัวข้อที่หลากหลายทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสำหรับ MASCOT ในปีนี้ ได้แก่ “น้องวิจัย” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์นักวิจัยแบบซูเปอร์ฮีโร่ทางการแพทย์ เพื่อเป็นการยกย่อง ทีมนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หมอและบุคลากรทางการแพทย์ที่นำเอาความรู้ที่มีจากงานวิจัยมาพัฒนาสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ในการดูแลรักษาช่วยเหลือผู้คนในช่วงโควิด-19 พร้อมเปิดตัว “ทูตวิจัย” ประจำปี 2564 “เพื่อน คณิน ชอบประดิถ” เป็นตัวแทนพลังคนรุ่นใหม่ที่มีความช่างสังเกต เรียบง่าย และสามารถเข้าถึงงานวิจัยใกล้ตัวได้

ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมหลากหลายประเด็น อาทิ การประชุมสัมนาขนาดใหญ่ในหัวข้อสำหรับการบริหารจัดการ งานวิจัย ปัญหาสำคัญของประเทศ  การประชุมสัมนาขนาดกลาง ในหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสังคม  การประชุมเฉพาะกลุ่มเฉพาะเรื่อง และการดำเนินบทความผลงานไทย การประชุุมให้ความรู้ถ่ายทอดเทคนิค กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ครอบคลุม 7 ด้านเด่น งานวิจัยและนวตกรรมเพื่อพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้  งานวิจัยนวตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคมสิ่งแวดล้อม งานวิจัย และนวตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขัน งานวิจัยนวตกรรมเพื่อตอบโจทย์โรคอุบัติใหม่ งานวิจัยและนวตกรรมเพื่อขับเคลื่อน BCG Economy Model และงานวิจัยนวตกรรมเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทั้งในรูปแบบ Online และ On site เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมงาน On site ลงทะเบียนล่วงหน้าและได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ Website : http// researchexpo.nrct.go.th และ www.nrct.go.th

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้